วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ยาคุมแบบไหนเหมาะกับคุณ


สมัยนี้ยาคุมมีตั้งมากมาย แล้วแบบไหนล่ะที่เหมาะกับคุณ ยาเม็ดคุมกำเนิดสมัยนี้ได้พัฒนาไปมาก นอกจากจะคุมกำเนิดได้แล้ว ยังให้ผลอื่น ๆ อีกด้วย ยาที่เห็นว่ามีอยู่มากมายนั้น แต่ละชนิดจะมีส่วนผสมที่แตกต่างกัน และให้ผลที่แตกต่างกัน วิธีการเลือก จึงควรดูความต้องการของคุณเป็นหลัก ว่าอยากได้ผลอะไรบ้างจากการใช้ยา


- ต้องการแค่คุมกำเนิดอย่างเดียว ส่วนใหญ่ราคาของยาจะขึ้นอยู่กับสรรพคุณ หากคุณไม่ได้ต้องการประโยชน์ข้างเคียงอื่น ๆ นอกจากการคุมกำเนิด และอยากประหยัด ก็อาจจะเลือกตัวที่คุมกำเนิดได้อย่างเดียว ไม่มีผลอย่างอื่น


- เน้นความปลอดภัย กลัวจะแพ้ยายาเม็ดคุมกำเนิดที่วางจำหน่ายส่วนใหญ่ก็ปลอดภัยทั้งนั้น แต่บางตัวจะทำงานโดยออกฤทธิ์โดยผ่านตับก่อน บางตัวก็สามารถออกฤทธิ์ได้ทันที จึงไม่ทำให้ตับต้องทำงานหนัก หากใช้เป็นประจำ อาจเลือกตัวที่สามารถออกฤทธิ์ได้ทันที โดยไม่เป็นภาระกับตับ (active drug) ส่วนอาการคลื่นไส้ อาเจียนซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงแรก ๆ ที่เริ่มใช้ยานั้น มักจะเป็นอยู่เพียง 2-3 เดือนแรกในช่วงที่ร่างกายปรับตัวเท่านั้น แต่ถ้าอยากเลี่ยงอาการพวกนี้ อาจเลือกตัวที่มีฮอร์โมนผสมในสัดส่วนต่ำ


- กลัวอ้วน ความจริงแล้วยาเม็ดคุมกำเนิดไม่มีผลกับน้ำหนักตัว แต่ที่บางคนรู้สึกว่าดูตัวบวมๆ นั้น ก็เป็นเพราะอาการบวมน้ำ ซึ่งเกิดจากร่างกายกักเก็บน้ำไว้มากเกินไป ถ้าไม่อยากให้มีอาการแบบนี้ ก็ลองเลือกตัวที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนโปรเจสโตเจนที่ชื่อ Drosprirenone ที่สามารถต้านอาการคั่งของน้ำได้ หรือเลือกตัวที่มีส่วนผสมของเอสโตรเจนในสัดส่วนที่ต่ำมาก


- อยากแก้ปัญหาหน้ามัน สิว และขนดก อาการพวกนี้เกิดจากความไม่สมดุลของระดับฮอร์โมนในร่างกาย โดยมีฮอร์โมนเพศชายมากเกินไป สามารถลดปัญหาได้ด้วยการใช้ยาที่มีฮอร์โมนโปรเจสโตเจนที่ต้านฮอร์โมนเพศชายได้


- อยากแก้ปัญหาช่วงวันนั้นของเดือน การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดทุกประเภทจะทำให้ประจำเดือนมาน้อยลง และรอบเดือนมาสม่ำเสมอมากขึ้น จึงช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้ แต่หากคุณมักจะมีอาการไม่พึงประสงค์ก่อนมีรอบเดือน (PMS) เช่น หงุดหงิด ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวนง่าย ความอยากอาหารผิดปกติ เจ็บคัดตึงหน้าอก ท้องอืด มือเท้าบวม ฯลฯ ก็อาจเลือกยาคุมประเภทที่มีฮอร์โมนโปรเจสโตเจนรุ่นใหม่ที่มีส่วนผสมของโปรเจสโตเจนที่ชื่อ Drosprirenone ที่ใกล้เคียงกับฮอร์โมนในร่างกาย จะช่วยลดปัญหานี้ได้
ทางที่ดี ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร ว่ายาชนิดใดมีส่วนผสมของอะไร และให้ผลตามที่คุณต้องการได้บ้าง ถ้าจะให้ดี ควรขอคำแนะนำในการใช้ยาที่ถูกต้องจากแพทย์หรือเภสัชกร และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่มีชื่อเสียงมายาวนานก็จะมั่นใจได้มากกว่า

สรุป เรื่อง การบริหารโครงการ วันที่ 14 กรกฎาคม

สรุปการบริหารโครงการ(Project Management)

โครงการ หมายถึง ข้อเสนอที่จะที่จะดำเนินงานในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้สำเร็จโดยมีการตระเตรียม และวางแผนงานไว้ล่วงหน้าเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งความแตกต่างระหว่างแผนงานและโครงการ แผนงานจะประกอบด้วยโครงการมากกว่า 1 โครงการเป็นการดำเนินงานระยะยาว มีกระบวนการดำเนินการทั่วทั้งองค์การ วิธีการจัดทำแผนงานจะใช้วิธีการวางแผนเชิงกลยุทธ์

ลักษณะของโครงการ
- มีวัตถุประสงค์ชัดเจน
- มีกำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด
- ดำเนินงานอยู่ภายใต้ข้อจำกัด เวลา ต้นทุน คุณภาพ

วงจรการพัฒนาโครงการ
1.ช่วงระยะก่อนการบริหารโครงการ
2.ช่วงระยะการบริหารโครงการ
3.ช่วงระยะการบำรุงรักษา

การวางแผนโครงการ
-จุดมุ่งหมายของการวางแผน
-ปัจจัยที่ต้องคำนึงในการวางแผน

ขั้นตอนการวางแผนโครงการ
1).กำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตของงาน
2.)กำหนดผลิตภัณฑ์ที่จะต้องสงมอบและระบุรายการโครงสร้างงาน
3.)การจัดองค์กร
4.)กำหนดระบบการทำงานและระบบเอกสาร
5.)การกำหนดตารางเวลา

เครื่องมือที่ใช้ในการจัดทำตารางเวลา ประกอบกิจกรรมช่วงเวลา กราฟแท่งแนวนอน

ลักษณะแผนผัง PDM ใช้กล่องสี่เหลี่ยมแทนงาน ลูกศรจะแทนความสัมพันธ์ระหว่างงานในหลายชนิด

ช่วงเริ่มดำเนินงาน ดำเนินการติดตามโครงการตามจุดตรวจสอบ ประเมินผลตามเกณฑ์การวัดผล ติดตามการสื่อสารภายในโครงการ การประชุม

การติดตามดูแลโครงการ (Project Monitoring ) จะมีการติดตาม การวัดความก้าวหน้าระหว่างการดำเนินงาน

กระบวนการแก้ไขปัญหา มีการระบุปัญหา รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์หาสาเหตุ ทำแผนปฏิบัติ เป็นต้น

ความขัดแย้งในโครงการ สาเหตุ ประเภทความขัดแย้ง การจัดการความขัดแย้ง ความตึงเครียดในโครงการ

รูปแบบการปิดโครงการ มีการปิดโครงการเมื่อแล้วเสร็จตามแผน การปิดโครงการกลางคัน การปิดโครงการามเดิม และปิดโครงการใหม่

การประเมินผลโครงการ หมายถึง การใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ อันจะนำมาสู่การตัดสินใจ
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้การสนับสนุนงบประมาณอย่างพอเพียง ช่วยให้ทรัพยากรเกิดประโยชน์เต็มที่เพื่อให้ได้สารสนเทศที่สำคัญสำหรับผู้บริหารในการตัดสินใจความประหยัด การใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดในการผลิต ใช้ปัจจัยนำเข้าด้วยต้นทุนต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ความมีประสิทธิภาพ การเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยนำเข้ากับผลผลิตความมีประสิทธิผล เปรียบเทียบวัตถุประสงค์กับผลลัพธ์ของโครงการ

ขั้นตอนการจัดทำระบบการประเมินผลโครงการ
ขั้นที่ 1 กำหนดผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการ
ขั้นที่ 2 กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของงาน
ขั้นที่ 3 กำหนดวิธีการรวบรวมข้อมูล
ขั้นที่ 4 กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน
ขั้นที่ 5 รายงานผลสัมฤทธิ์
ขั้นที่ 6 ใช้ประโยชน์ข้อมูลจากการประเมินผลโครงการ

วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การแก้ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ

1. แก้ด้วยอาหาร ควรจะให้อาหารที่เพิ่มโปรตีน ให้มากๆ สำหรับท่านที่กินอาหารชีวจิตอยู่แล้ว เราให้กินโปรตีนทั้งจากพืชและจากเนื้อสัตว์ได้ จากพืชก็คือ ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วแดง และผลิตผลจากถั่ว เช่น เต้าหู้ โปรตีนเกษตร เป็นต้น และเราให้กินปลาหรืออาหารทะเลได้ อาทิตย์ละ 2 ครั้ง คุณอาจจะเพิ่มปลาได้เป็นอาทิตย์ละสัก 3 ครั้ง และถั่ว-เต้าหู้ให้เพิ่มขึ้นเป็น 25% แทนที่จะเป็น 15% ตามสูตรหนึ่งของเรา
2. กินวิตามิน B COMPLEX 100 มก. เป็นประจำวันละ 1 เม็ด และให้แถม B1 100 มก.และ B12 500 ไมโครแกรม อีกอย่างละเม็ด
3. แคลเซียม 1,000 มก. และโปแตสเซียม 500 มก. กินประมาณ 1 เดือน เว้น 1 เดือน
4. วิตามิน E 400 IU. วันละ 1 เม็ด
5. ขอให้ออกกำลังกายเบาๆก่อน ใช้วิธีรำตะบองแบบชีวจิตจะดีที่สุด แรกใช้แต่ละท่า ประมาณ 20 ครั้ง เมื่อรู้สึกดีแล้ว ให้เพิ่มเป็นท่าละ 3 ครั้ง
6. ใช้หัวแม่มือนวดเบาๆ บริเวณกลาง หน้าอกแล้วเลื่อนไปที่บริเวณใกล้รักแร้สองข้าง
ความดันโลหิตต่ำ (HYPOTENSION)
ความดันต่ำไม่เป็นอันตรายก็จริง แต่ก็คงจะทำให้คุณเป็นคน อ่อนแอ ไม่มีแรง ปวดหัวเวียนหัวอยู่ตลอดเวลา ทำงานทำการแบบออกแรงหน่อยก็ทำไม่ได้ เหล่านี้เป็นต้น ความดันโลหิตโดยทั่วๆไปสำหรับผู้ใหญ่นั้น ถ้าเกิน 140/90 ขึ้นไป ถือว่าเป็นความดันโลหิตสูงเกินควร หรือถ้าต่ำกว่า 100/60 ก็ถือว่าต่ำเกินควร
ความดันโลหิตต่ำเกิดขึ้นได้จากต้นตอสองประการ คือ จากระบบบางอย่างของร่างกายบกพร่องมาตั้งแต่เกิด หรือเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บเฉพาะหน้าบางประการ
สาเหตุบางอย่างจากระบบบกพร่องนั้น ได้แก่ คนที่โลหิตจางหรือเลือดน้อย ปริมาณรวมของเลือดต่ำและผนังของเส้นเลือดและการปั๊มของหัวใจผิดปกติ อันตรายร้ายแรงจากระบบบกพร่องนั้น จะไม่ค่อยมี แต่ผู้ที่ความดันโลหิตต่ำมักจะ เป็นคนที่ไม่มีแรง เวียนหัว หัวหมุนและคลื่นไส้อาเจียนได้ง่าย ทำงาน หนักไม่ค่อยจะได้ เหนื่อยง่าย ถ้าจะพูดแบบชาวบ้านก็คงเป็นเพราะว่า “คนเอว บางร่างน้อยไม่ค่อยมี เรี่ยวมีแรงอย่างนั้นแหละ”
ส่วนที่ความดันโลหิตต่ำเพราะมีโรคภัยเฉพาะหน้าเกิดขึ้นนั้น อาจจะเกิดขึ้นเพราะโลหิตจางแบบเฉียบพลัน ซึ่งสาเหตุอาจจะเป็นเพราะ อุบัติเหตุเสียเลือดมาก หรือมีสิ่งที่เป็นท็อกซิน มากเข้าสู่ร่างกายอย่างกะทันหัน หรือต้องรับยาเคมีบางอย่าง เช่น ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งต้องรับเคมีบำบัด และต้องใช้รังสีบำบัด เป็นต้น
ขอพูดถึงวิธีแก้สำหรับผู้ที่มีโรคภัยเฉพาะหน้าก่อน ถ้าจะให้รู้ว่าเพราะโลหิตจางหรือไม่ คงจะต้องตรวจเลือดก่อน แล้วดูที่ปริมาณเม็ดเลือดขาวก่อนเป็นตัวแรก ต่อจากนั้นให้ดูที่เฮโมโกลบิน (ตัวที่รับเอาออกซิเจนเข้าไว้ในเลือด) แล้วดูเฮมาโตคริต (เปอร์เซ็นต์ของเม็ดเลือดแดงทั้งหมด) ถ้าชนิดของเลือดเหล่านี้ต่ำกว่าเกณฑ์จะค่อนข้างแน่ใจว่าโลหิตจาง และถ้าวัดความดันโลหิต ว่าต่ำกว่าเกณฑ์ก็ต้องให้เลือดเป็นการด่วน แต่การปฏิบัติเช่นนี้เป็นหน้าที่ของแพทย์นะครับ คุณทำเองไม่ได้ เมื่อแก้อาการโลหิตจางตามนี้ได้แล้ว ความ ดันโลหิตของคุณน่าจะขึ้นมาได้อยู่ในระดับปกติ
แต่อีกอย่างหนึ่งที่จะต้องเฝ้าดูเป็นพิเศษก็คือ การที่คุณโลหิตจางนั้นเกิดจากการเลือดออกภายในร่างกายหรือไม่ เลือดออกภายในนี้อาจจะเป็นที่แผลในกระเพาะหรือลำไส้ คุณรับประทานอะไรเข้าไปเป็นกรดหรือย่อยไม่หมด ก็จะทำให้แผลภายในเลือดออกไม่หยุด อย่างนี้อันตรายแบบเฉียบพลัน ความดันโลหิตต่ำอย่างแน่นอน
ฉะนั้น อย่าวางใจถ้าความดันโลหิตต่ำจนหมดแรงจะเป็นลม แต่ไม่ พบอาการผิดปกติอย่างอื่น ให้ดูให้แน่ว่ามีเลือดออกภายในร่างกายหรือไม่ รีบส่งโรงพยาบาลด่วนนะครับ
แต่ข้อสังเกตนะครับ ถ้ามีโอกาสตรวจความดันโลหิตและปรากฏว่าเป็นความดันต่ำแล้วละก็ รีบให้ยาบำรุงเลือดด้วย ก็จะหายเร็วขึ้นแน่ๆ

สรุป การจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล วันที่ 7 กรกฎาคม

การจัดการ หมายถึง การพัฒนากลยุทธ์ที่ชัดเจนในการดำเนินการกับสารสนเทศที่ได้รับ
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลข่าวสารทุกประเภทที่ได้รับ
ส่วนบุคคล หมายถึง การที่บุคคลมีความต้องการหรือมีความจำเป็นในการสารสนเทศหนึ่งๆในการประกอบกิจการงานหรือการดำรงชีวิตประจำวันยุคของการใช้กระดาษหลักส่วนใหญ่อาศัยกระดาษเป็นหลักและมีตู้เก็บเอกสารเป็นส่วนประกอบ ระบบที่ใช้กระดาษนี้เป็นระบบที่ง่ายต่อการเรียนรู้และการใช้งาน ส่วนจุดด้อยที่สำคัญคือ การค้นกาข้อมูลค่อนข้างยากยุคของการใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักไมโครคอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีบทบาทในวงการต่างๆมากขึ้นตั้งแต่ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 แต่ละบุคคลเริ่มได้รับสารสนเทศมากขึ้นจากแหล่งต่างๆและยังใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้คนมากขึ้นองค์ประกอบของระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลจะมีความแตกต่างกันค่อนข้างมากทั้งด้านรูปลักษณ์ ระบบความสามารถในการทำงาน และราคา ตามโครงสร้างของระบบที่ใช้หลักการจัดการฐานข้อมูลแล้ว พบว่าองค์ประกอบที่เหมือนกันคือ ส่วนรับเข้า ส่วนประมวลผล และส่วนแสดงผลประเภทของระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล จะประกอบไปด้วย การจำแนกตามรูปลักษณ์ และจำแนกตามฟังก์ชันการทำงานเกณฑ์การการเลือกระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล ประกอบด้วย เป้าหมาย ความต้องการด้านสารสนเทศ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความสามารถในการทำงาน ราคา ความยากง่ายในการใช้งาน การสนับสนุนด้านเทคนิค การรับฟังความคิดเห็น และการทดลองใช้ระบบระบบนัดหมายส่วนบุคคล เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พบในระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลโดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายกับสมุดนัดหมายบุคคลที่เป็นกระดาษเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการบริหารเวลาของแต่ละบุคคลช่วยให้มีการใช้เวลาได้อย่างคุ้มค่าระบบนัดหมายกลุ่มระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการนัดประชุม ที่เรียกว่า “ระบบนัดหมายประชุม” เป็นการนำปฎิทินในการทำงานในระบบคอมพิวเตอร์ของสมาชิกของแต่ละคนมารวมกันและแสดงผลข้อมูลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์พร้อมกัน ระบบจะแสดงช่วงเวลาสมาชิกทุกคนมีเวลาว่างพร้อมกัน เพื่อให้เลขานุการหรือผู้ใช้ระบบเลือกเอาเวลาที่เหมาะสมสำหรับการประชุม

ระบบติดตามงานส่วนบุคคล หมายถึง มีลักษณะคล้ายสมุดจดบันทึกช่วยจำที่เป็นกระดาษ ปัญหาที่พบมากในการบริหารเวลาของตนเองมีอยู่คือ
1.ความพยายามที่จะทำงานหลายอย่างให้เสร็จภายในวันเดียว
2.มีนิสัยผัดวันประกันพรุ่งจึงต้องำงานแบบเร่งรีบในช่วงเวลาสุดท้าย

ระบบติดต่อสื่อสารแบบพื้นฐาน
เ ป็นระบบที่ซับซ้อนที่สุด มีเพียงฟังก์ชันที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นของบุคคลเป็นระบบที่มีเพียงฐานข้อมูลของบุคคลที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยข้อมูลต่างๆที่จำเป็นต่อการประกอบกิจการ หรือการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ใช้ระบบระบบติดต่อสื่อสารแบบซับซ้อนมีฟังก์ชันการติดต่อสื่อสารซับซ้อนมากขึ้นฐานข้อมูลของบุคคลที่เกี่ยวข้องเหมือนกับระบบติดต่อสื่อสารแบบพื้นฐาน ยังมีฟังก์ชันการติดต่อสื่อสารทั้งที่ผ่านโทรศัพท์และผ่ายเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีการเชื่อมต่อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เข้ากับเครื่องโทรศัพท์ เป็นการรวมความสามารถในการทำงานของระบบโทรศัพท์และระบบคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเทคโนโลยีพีดีเอเป็นเทคโนโลยีระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลที่สำคัญและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เป็นคอมพิวเตอร์เฉพาะที่รวมฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ไว้ด้วยกันได้รับการพัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะในการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลเพียงอย่างเดียว

รูปลักษณ์พิเศษที่บ่งบอกความเป็นส่วนบุคคล มีดังนี้
-มีขนาดเล็กเท่าฝ่ามือ
-มีน้ำหนักเบา
-พกพาได้สะดวก
-มีความสามารถสูงในการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
-ง่ายต่อการเรียนรู้แลการใช้งาน
-ราคาไม่แพงจนเกินไป

คุณลักษณะของพีดีเอ
-การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ
-การจัดเก็บสารสนเทศ
-การสื่อสาร

ช่องทางการสื่อสารของพีดีเอ
-เทคโนโลยีเซลลูลาร์ เป็นเทคโนโลยีที่ใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
-เทคโนโลยีอินฟราเรด เป็นเทคโนโลยีใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้สัญญาณหรือลำแสงพุ่งออกจากอุปกรณ์บังคับระยะไกล เช่น เครื่องรับโทรทัศน์

ระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลบนเว็บ
เป็นระบบที่จัดเก็บสารสนเทศส่วนบุคคลไว้ในรูปเว็บในลักษณะมัลติมีเดียสามารถเข้าถึงได้ทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยใช้โปรแกรมเว็บบราวเซอร์
จุดเด่นของระบบการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลบนเว็บการไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ และ การแสดงสารสนเทศในลักษณะมัลติมีเดีย

มาตรฐานสำคัญระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลบนเว็บ
จำเป็นต้องคำนึงถึงรูปแบบของข้อมูลที่จะมีการแลกเปลี่ยนระหว่างระบบที่แตกต่างกันจึงจำเป็นต้องมีการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน โดยอัตโนมัติเพื่อหลีกเหลี่ยงการบันทึกข้อมูลที่ซ้ำมาตรฐานที่กำลังเป็นที่นิยมในการแลกเปลี่ยนข้อมูล คือ มาตราฐานวี-การ์ด

วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

บทบาทของสำนักงานอัตโนมัติในการจัดการสารสนเทศการสื่อสารและการจัดการทั่วไปบทบาทของสำนักงานอัตโนมัติในการจัดการสารสนเทศ
1. ลักษณะงานสำนักงานทั่วไปงานส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลสารสนเทศในสำนักงาน จำแนกได้ดังนี้ - งานรับข้อมูลและสารสนเทศ
-การเก็บบันทึกข้อมูลและสารสนเทศ
-การประมวลผลข้อมูล
- การจัดทำเอกสารธุรกิจ
- การสื่อสารข้อมูลและเอกสารธุรกิจ

2.ระบบสำนักงานอัตโนมัติกับการจัดการสารสนเทศ ระบบคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งเป็นเครือข่ายในสำนักงานอัตโนมัติจะทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร และสารสนเทศระหว่างสถานที่ที่ใช้เป็นสำนักงานต่างๆในเครือข่าย เพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำโครงการ และการใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจดำเนินงานต่างๆ โดยการเผยแพร่และสื่อสารสารสนเทศไปยังกลุ่มต่างๆเป็นไปโดยสะดวกรวดเร็ว ประกอบการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ทันสมัย เป็นปัจจุบัน เหล่านี้ทำให้การดำเนินงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลบทบาทของสำนักงานอัตโนมัติในการสื่อสาร
1. การสื่อสารทั่วไปในสำนักงานการสื่อสาร หมายถึง การสื่อข้อความระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยปกติเป็นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารระหว่างมนุษย์ รวมถึงการสนทนาในรูปแบบต่างๆ การใช้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งในปัจจุบันสื่อดังกล่าวทำงานผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์

2.บทบาทของการสื่อสารข้อมูลในสำนักงาน
-การเชื่อมโยงการทำงานของผู้บริหารและพนักงาน
-การเชื่อมโยงสำนักงานกับหน่วยงานภายนอก
-การประชาสัมพันธ์
-การช่วยค้นหาข้อมูลข่าวสาร

3. เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในสำนักงาน การสื่อสารข้อมูล เป็นการนำเทคโนโลยีและวิธีการในการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ต่างๆ โดยทั่วไปมี 5 ขั้นตอน คือ การสร้างข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ส่ง นำข้อมูลมาสร้างเป็นสัญญาณเพื่อใช้ส่ง ส่งสัญญาณดังกล่าวไปเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้รับ ทำการแปลงสัญญาณที่รับ และประมวลผลยังจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้รับ ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาของการสื่อสาร มีดังนี้
1 การพิจารณาอุปกรณ์ต่อพ่วง
2 การเลือกตัวกลางสื่อสารที่เหมาะสม
3 การกำหนดเกณฑ์วิธีในการสื่อสาร เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินเตอร์เน็ตถูกใช้ในการสื่อสารด้วยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนเป็นแหล่งสืบค้นข้อมูล โดยมีผู้ให้บริการ และผู้สร้างสื่อเผยแพร่มากขึ้น

4. การนำอินเทอร์เน็ตไปใช้ในสำนักงาน
- การประชาสัมพันธ์
-การสื่อสาร
-การทำงานทางไกลบทบาทของสำนักงานอัตโนมัติในการจัดการทั่วไป
1. บทบาทต่อการจัดการทั่วไป
1 คุณภาพของการจัดการ
การวางแผน
การจัดองค์การและการจัดการบุคลากร
การบริหารงบประมาณ
การบริหารงานโครงการ
การควบคุมการปฏิบัติงานในสำนักงาน
การทำรายงาน
2 คุณภาพของผู้บริหาร บทบาทของผู้บริหารอาจแบ่งได้เป็น 3 ด้าน
การประสานงาน
สารสนเทศ
การตัดสินใจ
3 การทำงานเป็นทีม
เทอร์บัน (Turban 1996) กล่าวว่าเป็นการทำงานถาวรหรือชั่วคราวที่คนตั้งแต่สองคนขึ้นไปใช้วัตถุประสงค์ร่วมกันในการทำงาน โดยกล่าวประโยชน์ของการทำงานเป็นทีม ไว้ดังนี้
- กลุ่มงานเข้าใจปัญหาได้ดีกว่าคนเพียงคนเดียว
- บุคคลจะรับผิดชอบหากมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
- กลุ่มงานค้นหาความผิดพลาดบกพร่องได้ดีกว่า
- กลุ่มงานมีสารสนเทศและความรู้มากกว่า
- ช่วยกระตุ้นให้สมาชิกและกระบวนการทำงานดีขึ้น
- แต่ละคนมีพันธะผูกพันในข้อที่ร่วมกันตัดสินใจ
- แต่ละคนจะลดความรู้สึกที่จะต่อต้านสิ่งที่กลุ่มได้ตัดสินใจไปแล้ว
4 การทำงานทางไกล ด้วยเครื่องมือการสื่อสารที่ทันสมัยและเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายทำให้ผู้ทำงานสามารถที่จะทำงานได้ต่างสถานที่ และเสมือนว่าได้ทำงานในสำนักงานเดียวกัน
- ประโยชน์ ช่วยลดปัญหาด้านบุคลากร พื้นที่ใช้งานในหน่วยงาน และปัญหาสังคม
-ปัญหา บุคลากรอาจลดความสัมพันธ์ระหว่างกัน ในด้านหน่วยงานอาจไม่มีความพร้อมในการประชุม ผลประกอบการไม่ได้ดังหวัง เป็นต้น2. ข้อควรพิจารณาในการปรับเปลี่ยนสำนักงานมาเป็นสำนักงานอัตโนมัติ
-ด้านความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการแก้ไขปรับปรุงตนเอง
-ด้านความพร้อมในการปรับปรุงตนเอง
-การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานใหม่
-การสร้างแนวคิดในการปรับปรุงตนเอง
-การติดตาม การประเมินผล และการแก้ไข

การใช้คอมพิวเตอร์ในสำนักงานอัตโนมัติโดยมีการแบ่งออกเป็นระดับของบุคคล

- เมนชิงได้แบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกันคือ
1.ผู้ใช้โดยตรง เขียนโปรแกรมและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรม
2. ผู้ใช้โดยอ้อม ใช้สารสนเทศที่สร้างจากสารสนเทศแต่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ หรือทำงานเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์โดยตรง
3. ผู้ใช้โดยไม่เขียนโปรแกรม แต่มีปฏิสัมพันธ์กับระบบด้วยการบันทึกข้อมูลเข้าสู้คอมพิวเตอร์และผลลัพธ์จากระบบ
4. นักคอมพิวเตอร์อาชีพ เป็นผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ออกแบบระบบ และเขียนโปรแกรมแนวคิดเกี่ยวกับฐานข้อมูลในสำนักงาน

การจัดการข้อมูลในสำนักงาน แนวทางในการพัฒนาฐานข้อมูลในสำนักงานพร้อมตัวอย่าง

ฐานข้อมูล (database) คือ แหล่งรวมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันในด้านใดด้านหนึ่งจัดเก็บให้เป็นระเบียบ ข้อมูลที่จัดเก็บในฐานข้อมูลประโยชน์ของฐานข้อมูล
-การลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บข้อมูล
-การลดความขัดแย้งหรือความต่างกันของข้อมูล
-การพัฒนาระบบใหม่ทำได้สะดวก รวดเร็ว ใช้เวลาสั้น และมีค่าใช้จ่ายต่ำลง
-การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลทำได้ง่าย
-การทำให้ข้อมูลมีความถูกต้องมากขึ้น
- ความสามารถในการป้องกันการสูญหายของข้อมูลหรือป้องกันฐานข้อมูลถูกทำลาย เครื่องมือในการจัดการฐานข้อมูลเครื่องมือหลัก คือ ระบบจัดการฐานข้อมูล เป็นโปรแกรมที่เขียนที่อำนวยความสะดวกในการจัดทำและนำข้อมูลจากฐานข้อมูลมาใช้งาน รวมทั้งการมีระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลโครงสร้างของฐานข้อมูล แบ่งเป็น โครงสร้างเชิงกายภาพและ โครงสร้างเชิงตรรกะ
แนวทางการพัฒนาฐานข้อมูลในสำนักงาน
1. การศึกษาเบื้องต้นเพื่อจัดทำฐานข้อมูล
2. การออกแบบฐานข้อมูล
3. การจัดทำและนำข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูล
4. การทดสอบและประเมินผล
5. การใช้งานฐานข้อมูล
6. การบำรุงรักษา

ระบบความปลอดภัยของข้อมูลในสำนักงาน

1. ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลในสำนักงาน
ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบคือ
1.1 คน ในที่นี้มี 2 กลุ่ม คือ
-พนักงานของหน่วยงานที่ไม่เจตนาทำความเสียหายแก่ข้อมูล
-พนักงานของหน่วยงานที่เจตนาทำความเสียหายแก่ข้อมูล
1.2 ฮาร์ดแวร์
1.3 ซอฟต์แวร์
1.4 ไวรัสคอมพิวเตอร์
1.5 ภัยธรรมชาติ
2. รูปแบบของการก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่สร้างความเสียหายแก่ข้อมูล ได้แก่
2.1 ดาต้าดิดดลิ่ง (data diddling) เป็นการปลอมแปลงเอกสารหรือปรับเปลี่ยนข้อมูลเพื่อหาประโยชน์ใส่ตัว 2.2 ม้าโทรจัน (trojan horse) เป็นการทำอาชญากรรมโดยผู้ที่ได้รับความเสียหายไม่รู้ตัว เช่น การดักขโมยรหัสเพื่อผ่านเข้าไปใช้คอมพิวเตอร์ นำไปใช้ประโยน์ในภายหลัง
2.3 การโจมตีแบบซาลามิ (salami attack) เป็นการนำเศษเงินที่เป็นทศนิยมมารวมเป็นก้อนโต
2.4 แทรปดอร์ (trapdoor) หรือ แบคดอร์ (backdoor) เป็นจุดที่เป็นความลับในโปรแกรมที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อเข้าสู่โปรแกรมหรือโมดูลได้โดยตรง จึงเป็นช่องโหว่ในการทุจริตได้
2.5 การสงครามแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic warefare) เป็นการทำลายระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์หยุดทำงานหรือการลบข้อมูลในหน่วยความจำ
2.6 ลอจิกบอมบ์ (logic bomb) เป็นการเขียนโปรแกรมโดยกำหนดเงื่อนไขเจาะจงไว้ล่วงหน้า เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ โปรแกรมดังกล่าวจะทำงานทันทีไวรัสคอมพิวเตอร์
ไวรัสคอมพิวเตอร์ (computer virus) หมายถึง โปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยมีความสามารถในการแพร่กระจายจากระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในการแพร่กระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์จะแทรกตัวไปกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลหรือซ่อนตัวอยู่ในหน่วยความจำทั้งในหน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจำสำรองก็ได้
ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์
1. บู้ตเซกเตอร์ไวรัส (boot sector virus) คือ โปรแกรมไวรัสที่แทรกตัวในตำแหน่งหน่วยความจำที่เรียกว่า บู้ตเซกเตอร์ไวรัส ตัวอย่างบู้ตเซกเตอร์ไวรัส ได้แก่ AntiCMOS, AntiEXE, Ripper, NYB (New York Boot) เป็นต้น
2. เมโมรี เรสซิเดนต์ ไวรัส (memory resident virus) คือ โปรแกรมไวรัสที่แทรกตัวในตำแหน่งเมโมรี
3. แมคโคร ไวรัส (macro virus) แพร่ระบาดโดยเมื่อคำสั่งแมคโครใดที่มีโปรแกรมไวรัสแทรกตัวอยู่ถูกเรียกมาทำงาน โปรแกรมไวรัสนั้นจะถูกเรียกมาด้วย ตัวอย่างแมคโคร ไวรัส ได้แก่ Concept, Laroux เป็นต้น
4. ไฟล์ไวรัส (file virus) เป็นโปรแกรมไวรัสที่แทรกตัวเข้าไปในเอกซ์ซิคิวเทเบิลไฟล์ (executable file) เมื่อโปรแกรมเหล่านี้ถูกเรียกมาทำงานในคอมพิวเตอร์ก็จะแพร่ไปยังโปรแกรมอื่นๆ
5. มัลติพาร์ไทต์ไวรัส (multipartite virus) เป็นไวรัสที่ผสมคุณสมบัติของบู้ตเซกเตอร์ไวรัส ไฟล์ไวรัส เข้าด้วยกัน
6. โปรแกรมกลุ่มอื่นที่เป็นภัยคุกคามเช่นเดียวกับโปรแกรมไวรัส เช่น ลอจิกบอมบ์ ม้าโทรจัน แรบบิต (rabbit) วอร์ม (worm) และอื่นๆ การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์- ให้ใช้โปรแกรมจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น- ทดสอบซอฟต์แวร์ใหม่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่เป็นเอกเทศ (stand alone) และไม่มีฮาร์ดดิสก์- ให้สำรองโปรแกรมที่ต้องใช้งาน และแฟ้มข้อมูล- ให้ใช้โปแกรมป้องกันไวรัส (anti virus) ตรวจจับไวรัสเป็นประจำ- ควรมีการสำรองโปรแกรมระบบในดิสเกตต์หรือซีดีรอมโดยเป็นแบบไม่ให้มีการเขียนซ้ำ (write protect)
การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
1. การกำหนดการใช้ข้อมูล การกำหนดการใช้ข้อมูล (identification) เป็นการกำหนดสิทธิ์และการได้รับอนุญาตให้ใช้ข้อมูล ได้แก่
1.1 การใช้บัตร (card) กุญแจ (key) หรือบัตรผ่านทาง (badge) เพื่อผ่านทางเข้าไปใช้ระบบหรือข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์
1.2 การใช้รหัสเพื่อเข้าสู่ระบบ เป็นการกำหนดรหัสเพื่อให้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบอีกชั้นหนึ่ง
1.3 การใช้ลายเซ็นดิจิทัล (digital key) เป็นการรับรองเอกสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับในระบบลายเซ็นดิจิทัล
1.4 การตรวจสอบผู้มีสิทธิ์ก่อนเข้าสู่ระบบ เช่น การอ่านลายนิ้วมือ การอ่านรูปทรงมือ การตรวจม่านตาหรือเรตินา (retina)
2. การเข้ารหัส การเข้ารหัส (encryption) เป็นกระบวนการเข้ารหัส (encode) ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลโดยการแปลงเนื้อหาที่ปรากฏให้ไม่สามารถเข้าใจได้สำหรับผู้ลักลอบข้อมูลไป ทำให้ใช้ประโยชน์ไม่ได้ ข้อมูลที่เข้ารหัสจะต้องผ่านกระบวนการถอดรหัส (decryption) เพื่อถอดรหัส (decode) ให้เหมือนข้อความต้นฉบับ
3. การควบคุมในด้านต่างๆ
3.1 การควบคุมการเข้าถึงและเรียกใช้ข้อมูล (access control) เป็นการกำหนดระดับของสิทธิ์ในการเข้าถึงและเรียกใช้ข้อมูล
3.2 การควบคุมการตรวจสอบ (audit control)
3.3 การควบคุมคน (people control)
3.4 การควบคุมระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ (physical facilities control)
4. การมีโปรแกรมเพื่อตรวจสอบและป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ (anti virus program) เป็นการติดตั้งโปรแกรมเพื่อตรวจสอบและป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ทันทีที่พบว่าดิสเกตต์ที่นำมาใช้มีไวรัสฝังตัวอยู่ หรือไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาจากเครือข่ายมีไวรัสติดมาด้วย
5. การจัดทำแผนรองรับกรณีเหตุร้ายหรือแผนฉุกเฉิน (disaster & recovery plan) เป็นแผนฉุกเฉินในการกู้คืนข้อมูล และแผนฉุกเฉินเพื่อแก้ปัญหาในระหว่างทำงาน

น้ำตกห้วยแก้ว


เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีน้ำไหลแรงตลอดปี ห่างจากบ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยม 6.5 กม. และจากตัวเมืองเชียงรายเพียง 25 กม. ยังไม่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวมากนัก หากเข้าไปชมน้ำตกควรติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางจากบ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยม เตรียมน้ำและอาหารไปด้วย น้ำตกห้วยแก้ว มีทั้งหมด 3 ชั้น
ซึ่งแต่ละชั้นมีความสวยงามแตกต่างกัน มีมุมถ่ายรูปที่สวยงาม ซึ่งเป็นที่ถูกใจนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ชั้นที่ 1 สายน้ำไหลตกจากหน้าผาสูง และโขดหินขนาดใหญ่ประมาณ 30 เมตร ลงมายังแอ่งน้ำเบื้องล่าง บรรยากาศร่มรื่น สามารถลงเล่นน้ำได้ น้ำตกชั้นที่ 2 ต้องเดินจากน้ำตกชั้นที่ 1 อีก 200 เมตร จะเห็นสายน้ำไหหลตกจากหน้าผาสูง 40 เมตร
ทางเดินเป็นคันดินอัดแน่น เดินเลียบน้ำตกไปได้ทั้งสองฝั่ง มุมของชั้นที่ 2 ซึ่งยังมีอีกหลายมุมที่สวยงามและด้านล่างยังมีที่สำหรับนั่งเล่นได้อีกด้วย และบริเวณใกล้น้ำตกมีสวนชาที่กว้างใหญ่และสวยงาม มีบ้านชาวเขาเผ่าอาข่า ลีซอ และจีนฮ่ออาศัยอยู่
การเดินทาง รถยนต์ส่วนตัว ใช้เส้นทางเดียวกับบ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยม เมื่อถึงบ้านผาเสริฐ ก่อนถึงบ่อน้ำร้อนประมาณ 1 กม.มีทางแยกซ้ายมือ เป็นทางดินอัด มีวัดผาเสริฐวนารามเป็นจุดสังเกต ไม่เหมาะสำหรับรถเก๋ง ระยะทาง 5.6 กม.จากนั้นต้องเดินทางต่ออีก 10 กม. ถึงน้ำตกชั้นที่ 1 (จากตัวเมืองเชียงรายนั้นเป็นถนนลาดยาง 14 กิโลเมตร และถนน 6 กิโลเมตร)